พระแม่มิ่งมาตามหาราชิน

พระราชกรณียกิจ

พระแม่เมืองแม่แห่งชาติ

พระราชจริยวัตรด้านการศึกษา

พระมหากรุณาศิลปาชีพล้ำค่า

ทรงสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายประจำชาติของสตีไทย

พระมหากรุณาศิลปาชีพล้ำค่า

 

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเชื่อว่าในสายเลือดของคนไทยมีศิลปะอยู่ในตัว พระองค์ได้โอกาสเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎรทั่วไปประเทศเพราะได้ตามเสด็จพระราชดำเนินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพบความจริงว่าคนไทยที่แม้จะอยู่ในกมู่บ้านเล็กๆ ยากไร้ ห่างไกลความเจริญ แต่เขาก็มีความสามารถทางศิลปะเป็นอย่างยิ่ง เมื่อเสด็จเยื่ยมราษฎรภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นครั้งแรกในพุทธศักราช ๒๕๘๓ ก็ได้ทอดพระเนตรเป็นชาวบ้านนุ่งผ้าไหมสวยงามมาก ทรงไต่ถามได้ความว่าเขาทอเองโดยแต่ละบ้านจะเลี้ยงตัวไหมไว้ ๒๐ - ๓๐ กระด้งพอใช้ในครัวเรือน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถโปรดที่ทนแล้งได้ดีกว่าต้นฝ้ายเครื่องแต่งตัวของเขาจึงเป็นเรื่องที่กลับกันกับคนในเมือง ในเมืองคนจนใส่ผ้าฝ้ายส่วนคนมีนุ่ห่มผ้าไหม แต่ในเพราะต้องซึ้อด้ายจาโรตงงานมาทอ สิ้นเปลืองมาก

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถโปรดผ้าไหมตั้งแต่ยังเป็นพระคู่หมั้น คราวที่ทรงเข้าพิธีราชาภิเษกสมรสก็เป็นแบบไทยทรงฉลอพระองค์ผ้าไหมสีงาช้าง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถมีพระราชนิยม "นิยมไทย" อย่างแท้จริง ทรงศึกษาหาความรู้เรื่องผ้าไหมมาเป็นเวลานานมาก "รับสั่งว่าผ้าไหมที่เป็นไหมแท้จะสวยงามมากทรงจับผ้าไหมกำแล้วนำรอดวงพระธำมรงค์ได้ เมื่อคลี่ออกก็ไม่ยับ พระองค์ท่านสอนข้าราชบริพารให้รู้จักวิธีดูผ้าไหม แสดงว่าทรงรู้จักผ้าไหมเป็นอย่างดี"

พระองค์มีพระราชดำริอยู่นานแล้วที่จะทรงส่งเสริมให้ชาวนาชาวไร่ใช้ความสามารถทางศิลปะที่มีติดตัวอยู่ทุกคนนี้ต่อสู้กับความยากจนให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดีขึ้น ประกอบกับในปีพุทธศักราช ๒๕๑๓ เกิดอุทกภัยครั้นใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สิ่งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของงานศิลปาชีพของพระองค์

หนังสือ เคียงราษฎร์ บันทึกไว้ว่า "เมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๓ ได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพระองค์ทรงเสด็จเยี่ยมราษฎรทรงพบว่าราษฎรเดือดร้อน กันทั่วหน้า เพราะข้าวในนาล่ม ขณะนั้น แม้จะทรงนำของใช้และอาหารไปพระราชทานแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อนก็ตามแต่ภาพความทุกย์ยากของราษฎรยังคงติด อยู่ในพระทัย นี่คือจุดเริ่มแรกของโครงการศิลปาชีพ ทรงเริ่มด้วยการส่งท่านผู้หญิงสุประภาดา เกษมสันต์ ราชเลขานุการในพระองค์สมเด้จพระบรมราชินีนาถนำทีมงานข้าราชบริพารออกไปสนับสนุนให้ชาวบ้านทอผ้าไหมมัดหมี่ ที่จังหวัดนครพนมเป็นจังหวัดแรก โดยทรง ช่วยรับซื้อไว้และก็ได้ทรงปฎิบัติเช่นนั้นมาโดยตลอด
 
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม ราชินีนาถทรงส่งเสริมงานศิลปาชีพแบบที่ถ้ากล่างเป็นภาษาบ้านก็จะต้องเรียกว่า ทรงทุ่มเทชีวิตจิตใจ ทรงตรวจงานที่สมาชิกศิลปาชีพส่งมาอย่างระเอียด ทรงรู้จักหมดว่าลายอะไร ชื่ออะไร บางทีลายเดียวกันแต่แต่ละถิ่นเรียกไม่เหมือนกันและทำไมเรียกลายอย่างนี้ "จะทรงบันทึกลงทะเบียนไว้เลยว่าใครย้อมสีสวยใครทำลายสวย เวลาหาครูทอผ้าก็หามาจากชาวบ้านที่ทรงลงทะเบียนไว้นี้ พระองค์ท่านทรงละเดียดถี่ถ้วน ทรงคิดไปถึงเรื่องทุกอย่างแม้เป็นเรื่องเล็กน้อย โปรดเกล้าฯ ให้ชาวบ้านสอนกันเอง เช่นในเรื่องทอผ้าจก ทรงได้คุณยายซ้อน จากคูบัว ราชบุรีมาสอนพระองค์ท่านทรงนึกจนกระทั่งว่าให้จัดน้ำพริกปลาทูให้คุณยายซ้อน เพราะห้องเครื่องให้กินแกงมัสมั่นทรงละเดียดมากรับสั่งว่าหมากล่ะ มีให้คุณยายหรือเปล่า
 
วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๑๙ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงจัดตั้งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ขั้นภายหลังจากที่ได้ริเริ่มเป็นโครงการศิลปาชีพพิเศษมาแล้วหลายปี พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมูลนิธิได้สนับสนะนงานฝีมือนอกเหนือจากงานทอผ้าไหมอีกหลายแขนงตามควมเหมาะสมและตามปัจจัยเอื้อ อำนวยที่มีอยู่ในแต่ละภาคของประเทศ การจะเข้าหาชาวบ้านเพื่อถวายงานที่มีพระราชดำริเพื่อศิลปาชีพนี้เป็นการผจญภัญของพรรดานางสนองพระโอษฐ์ท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยะธยา ได้เล่าไว้ว่า"การผจญภัยของนางสนองพระโอษฐในครั้นก่อนมีต่างๆ กันเหลือที่จะเล่า ไม่ต้องพูดถึงอันตรายถนนหนทางก็แสนจะทารุณ หน่วยงานของผ้าไหมมัดหมี่สิ่งทอตามหมู่บ้านแปลกๆ ที่เก่าแก่ และทรงพระราชดำริจะพัฒนาฟื้นฟูรักษาศิลปะของไทยให้ดำรงไว้