กิจกรรมเฉลิมฉลอง ๗๒ พรรษามหาราชินี

 

   
ธนบัตรและแสตมป์และ เหรียญที่ระลึก

พันไม้วงกระดังงา ผู้เชี่ยวขาญพรรณไม้ค้นพบใหม่ล่าสุดของโลก สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระราชานถญาตให้อัญเชิญ พระนามาภิไธยเป็นชื่อพรรณไม้ดังกล่าวว่า "มหาพรหมราชินี" ขณะนี้เหลืออยู่ในประเทศไทยเพียง ๑๘ ต้น

ไม้ตระกูลกระดังงาใหม่มหาพรหมราชินี
เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ี่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ดร.นงลักษณ์ ปานเกิดดี รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนา รักษาการในตำแ หน่งผู้ว่าการ วว. พร้อมด้วย ดร.ปิยะ เฉบิมกลิ่น ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีการเกษตร ร่วมกันแถลงถึงการค้นพบ "มหาพรหมราชินี" พรรณไม้วงศ์กระดังงาชนิดใหม่ของโลกซึ่งได้รับ พระราชทานชื่อจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ลักษณะเฉพาะทางพฤกษศาสตร์ของมหาพรหมราชินีก็คือ เป็นไม้ขนาดเล็ก สูง ๔ - ๖ เมตร ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ๕ - ๘ เซนติเมตร เนื้อใบค่อนข้างหนา ผัวใบเรียบเป็นมันทั้งสองด้าน ออกดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ ๑ - ๓ ดอกใกล้ปลายยอด โคนกลีบสีเขียวอ่อนปลายกลีบสีม่วงเข้ม กระดกงอขึ้นและประกบติดกันเป็นรูปกระเช้าดอกจะบานอยู่ได้ ๓ - ๕ วัน และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ในช่วงเย็น และจะออกดอกในช่วงเดือน พฤษภาคม ถึง มิถุนายน เท่านั้น ส่วนผลออกเป็นกลุ่มโดยจะมีผลย่อย ๑0 - ๑๕ ผล รูปทรงกระบอก มีขนอ่อนปกคลุมหนาแน่น และการกระจายพันธุ์ต่ำ เนื่องจากผลสุกของมหาพรหมราชินีมีรสหวานจึงเป็นอาหารของ สัตว์ป่าหลายชนิด เมื่อสัตว์ป่ากินผลสุกมักจะไปถ่ายมูลไว้บนก้อนหินมล็ดจังไม่ค่อย มีโอกาสงอก อย่างไรก็ตาม จากการทดลองเก็บผลแก่จากบนต้นมาเพาะพบว่าเมล็ดงอกได้ดี ไม่ว่าจะนำไปปลูกบนดิยสูง ดอยไม่สูงหรือบนพื้นราบ สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด ทางกิ่ง เสียบยอด ทั้งนี้ วว. จะเร่งขยายเพาะขยายพันธุ์เพื่อส่งเสริมให้ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับต่อไป